Skip to main content

วิถีชีวิตที่ยั่งยืนตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน

Critical_Thinking

คำอธิบายรายวิชา

   หลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนภายใต้แนวคิดของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ รูปแบบและแนวทางการดำเนินงานของเศรษฐกิจหมุนเวียน การใช้หลักการและรูปแบบเศรษฐกิจหมุนเวียนมาผลักดันการจัดการทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่าและประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมนุษย์ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน กรณีศึกษา

วัตถุประสงค์ของวิชา

LO1: ระบุและอธิบายหลักการ แนวคิดของเศรษฐกิจหมุนเวียนภายใต้แนวคิดของเป้าหมาย การพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ รูปแบบและแนวทางการดำเนินงานของเศรษฐกิจหมุนเวียนได้อย่างถูกต้อง
LO2: สรุปสาระสำคัญของหลักการกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมนุษย์ให้เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อมตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนได้
LO3: เสนอแผนกระบวนการรูปแบบธุรกิจตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
LO4: ประยุกต์ใช้หลักการ แนวคิด และรูปแบบเศรษฐกิจหมุนเวียนมาผลักดันการจัดการทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่าและประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมได้

เนื้อหา

บทที่ 1: หลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน
บทที่ 2: เศรษฐกิจชีวภาพกับการจัดการทรัพยากร
บทที่ 3: เศรษฐกิจหมุนเวียน
บทที่ 4: เศรษฐกิจสีเขียว
บทที่ 5: กรณีศึกษา

กลุ่มผู้เรียนเป้าหมาย

(นิสิตที่ลงทะเบียนในรายวิชารู้ชีวิตรักษ์ธรรมชาติ ทั้งวิทยาเขตพัทลุงและสงขลา)  นักเรียน นิสิต นักศึกษา ครู อาจารย์ ผู้ประกอบการ และประชาชนทั่วไปที่ต้องการเพิ่มเติมความรู้ ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  และการเป็นผู้ประกอบการ ประมาณการจำนวนผู้เรียนกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 100 คน

การประเมินผล

• แบบทดสอบก่อนเรียน 0%
• แบบทดสอบระหว่างเรียนทุกบท 60%
• กิจกรรม Discussion (ระบบให้คะแนนไม่ได้)
• แบบทดสอบหลังเรียน (Final Exam) 40%
ผู้เรียนมีคะแนนรวมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 70% ถือว่าผ่านเกณฑ์เพื่อรับประกาศนียบัตรในระบบได้

อาจารย์ผู้สอนและคณะทำงาน

Course Staff Image #1

ผศ.ดร.สุดสาคร สิงห์ทอง

คณะวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยทักษิณ

sudsakhorn@tsu.ac.th

 


“สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนา 55 รายวิชา คอร์สออนไลน์หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ฉลองครบรอบ 55 ปี มหาวิทยาลัยทักษิณ และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”

Enroll